Fraction Technique!

เทคนิคการประยุกต์ใช้เศษส่วนในเกณฑ์การแข่งขันระดับประถมศึกษา


      น้องๆหรือคุณครูหลายๆคนอาจพบประสบปัญหาเมื่อเราใช้เลขในการคิดไม่หมดในกรณีมีเลขที่ซ้ำกัน ในระดับประถมศึกษาตอนปลายนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวัลสักเท่าไหร่ เพราะสามารถนำเลขที่ซ้ำนั้นออกไปโดยใช้สแควรูทได้ แต่กับน้องๆประถมศึกษาตอนต้นหล่ะ? เมื่อน้องๆเจอแบบนี้จะใช้สแควรูทตามพี่ประถมศึกษาตอนปลาย ก็ใช้ไม่ได้เนื่องจากผิดกติกาแล้วจะกำจัดเลขซ้ำนั้นอย่างไรล่ะ.... หน้านี้มีคำตอบครับ กับเทคนิค การใช้เศษส่วน


Example(1) : 7457 = 33

จากตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าใช้ตามวิธีด้านล่างจะได้คำตอบ 33 ทันที $$\underline{4\times\left(\sqrt{\left(7\times7\right)}\right)+5=33}$$ แต่อย่าลืมว่าวิธีข้างต้นนั้นเป็นวิธีของฝั่งประถมศึกษาตอนปลายนะครับ ประถมศึกษาตอนต้นจะใช้ไม่ได้ ดังนั้นวิธีที่จะทำให้ประถมศึกษาตอนต้นได้คะแนนในข้อนี้คือ "การใช้เศษส่วน"


ขั้นตอนที่ 1 : พิจารณาวิธีทำคร่าวๆ

หากเรามองคร่าวๆ เราจะมองเห็น 28 + 5 = 33 แต่เลข 7 มันเกินมา 1 ตัวตามวิธีด้านล่าง $$\underline{\left(4\times7\right)+5=33}$$


ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สมบัติการแจกแจงในการดึงตัวร่วม

ในการดึงตัวร่วมเราจะดึงตัวร่วมจากเลขที่ซ้ำอยู่ จะเห็นได้ว่าในโจทย์มีเลข 7 ซ้ำอยู่ 1 คู่ ดังนั้นเราจะดึง 7 ออกมาเป็นตัวร่วม ตามวิธีด้านล่าง $$\underline{7\left(4+\frac{5}{7}\right)=33}$$


Example(2) : 1538 = 31

จากตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าใช้ตามวิธีด้านล่างจะได้คำตอบ 31 ทันที $$\underline{\left(\sqrt[3]{\left(8\right)}\right)^5-1=31}$$ แต่อย่าลืมว่าวิธีข้างต้นนั้นเป็นวิธีของฝั่งประถมศึกษาตอนปลายนะครับ ประถมศึกษาตอนต้นจะใช้ไม่ได้ ดังนั้นวิธีที่จะทำให้ประถมศึกษาตอนต้นได้คะแนนในข้อนี้คือ "การใช้เศษส่วน"


ขั้นตอนที่ 1 : พิจารณาวิธีทำคร่าวๆ

หากเรามองคร่าวๆ เราจะมองเห็น 32 - 1 = 31 แต่ว่าเราไม่สามารถทำให้ 3,5,8 กลายเป็น 32 ได้ $$\underline{\left(3,5,8\right)\to{32}-1=31}$$


ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สมบัติของเลขยกกำลัง

เราจะใช้สมบัติของเลขยกกำลังข้อนี้ในการประยุกต์ในข้อนี้ $$\underline{a^\frac{n}{m}=\sqrt[m]{\left(a^n\right)}}$$ จะเห็นได้ว่า 32 เกิดมาจาก "2 ยกกำลัง 5" ซึ่ง 2 ในข้อนี้ก็เกิดมาจาก "รากที่ 3 ของ 8" ดังนั้นวิธีทำในข้อนี้จึงออกมาเป็นวิธีด้านล่าง $$\underline{8^\left(\frac{5}{3}\right)-1=31}$$


       ยังไงก็ตาม หลักการเศษส่วนนี้ก็เป็นหลักการที่เด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้นไม่ค่อยมองเห็นกันสักเท่าไหร่ (ผมก็ยอมรับครับว่าเป็นอีกคนที่ไม่เคยมองอะไรแบบนี้ จนได้อาจารย์ของผมสอนนี่แหละครับ 555) หากฝึกจนชำนาญได้ ผมเชื่อว่าน้องๆเหล่านั้นจะมีความรู้ติดตัวไปอีกมากแน่นอนครับ เพราะมันสามารถนำการมองแบบนี้ไปต่อยอดในการสอบแข่งขันได้อีกด้วย